วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

นกเงือก

นกเงือก



















นกเงือก (อังกฤษ: Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว[3]

นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3] ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา[4]

และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ[5]

พบทั่วโลกมี 55 ชนิด[6]ใน 14 สกุล (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย

นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก

นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ

นกกรงหัวจุก

       นกกรงหัวจุก

               

                                       

                                                  

"นกกรงหัวจุก"
ชื่ออื่นๆ นกกรงหัวจุก (ใต้) นกปรอดหัวโขนเคราแดง นกปรอดหัวจุก นกปรอดหัวโขน (กลาง) นกพิชหลิว นกปริ๊จจะหลิว( เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnonotus jocosus สกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวน เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด นกมีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียในกลุ่มประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง
ลักษณะทั่วไป มีขนาดยาวประมาณ ๒๐ ซ.ม มีปากเรียวแหลม ปลายปากโค้งเล็กน้อย และมีขนสั้นแข็งบริเวณโคนปาก คอสั้น ลำตัวเพรียว ปีกสั้น หางยาว โดยนกปรอดหัวโขนมีขนหงอนยาวสีดำตั้งชันขึ้นมาบนหน้าผากเป็นลักษณะเด่น มองดูคล้ายกับคนที่สวมหัวโขนหรือชฎาที่มียอดแหลมขึ้นมา ลักษณะพิเศษของนกปรอดหัวโขนจะมีปากดำ กระหม่อมดำเช่นเดียวกับหงอน แก้มสีขาวและมีเส้นสีดำลากจากโคนปาก ลงมาต่อกับแถบสีดำข้างคอ ใต้ตามีแต้มสี
นกกรงหัวจุกตัวผู้
หัวใหญ่ หน้าใหญ่ ขนคอขาวฟู ฐานจุกใหญ่ ปลายจุกโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย ดวงตาสดใส หมึกดำจะยาวกว่าตัวเมีย บางตัวปลายหมึกเกือบชิดกัน บัวแดงใหญ่ สีสดชัดเจน ข้อสังเกตุคือ ขนหัวปีกทั้งสองข้างมีสีแดงนิดหน่อยซึ่งตัวเมียไม่มี บริเวณขนหน้าอกหน้าท้องถ้าใช้ลมปากเป่าเบา ๆ จะเห็นขนอ่อนคลุมทั่วไป แต่ตัวเมียไม่ค่อยมี นกเก่งตอนยืนร้องจะเหยียดขาจนสุดข้อเท้า ปลายหางสอดใต้คอน ลีลาท่าเต้นงดงาม ร้องเป็นเพลงยาว ๆ มีจังหวะที่ดี 5-7คำ
นกกรงหัวจุกตัวเมีย หัวเล็ก หน้าเล็ก ขนคอเรียบ ๆ ฐานจุกเล็ก ปลายจุกโค้งไปด้านหลังหรือชี้ตรง หมึกดำมีไม่มาก บัวแดงเล็ก เรียบ ลีลาร้องไม่คึกคัก เพลงไม่ยาว มักร้อง 1 - 3 คำ ( ส่วนมาก คำ )
นกปรอดหัวโขนที่ยังโตไม่เต็มวัยตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันบริเวณหน้าผากและหงอนมีสีน้ำตาลอมดำ แต้มสีแดงใต้ตายังไม่ปรากฏ เห็นเพียงแก้มสีขาวใต้โคนหางก็เป็นสีชมพูจางๆ หรือสีส้มอ่อน ๆ ยังไม่แดงเข้มเท่ากับพ่อแม่ สำหรับแต้มสีแดงใต้ตาเป็นลักษณะเด่นของนกปรอดหัวโขนดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่าง สีขาว โคนหางด้านล่างสีแดง ปลายขอบหางสีขาว ขาสีดำ

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นกปากห่าง



นกปากห่าง





นกปากห่าง จัดอยู่ในวงศ์นกกระสา (Ciconiidae) จัดเป็นนกในวงศ์นี้ขนาดเล็ก แต่จุดเด่น
ที่ไม่เหมือนใครก็คือปากที่ยามหุบจะเหลือช่องตรงกลาง ทำให้มันคาบเปลือกหอยโข่งและหอยเชอรี่ที่ทั้งกลมทั้งลื่นได้อย่างช่ำชอง เมื่อจับหอยได้แล้วมันจะคาบไปหาทำเลเหมาะ ๆ เพื่อใช้จะงอยปากทำหน้าที่เหมือนแหนบจิกเนื้อหอยออกมากิน ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน มีขายาว คอยาว ปากใหญ่ส่วนกลางของปากห่างออกเพื่อคาบหอยโข่งซึ่งกลมลื่นได้ ขนตามตัวมีสีขาวมอ ๆ หางมีสีดำแกมน้ำเงิน ขนปลายปีกมีสีเหมือนและเป็นแถบสีดำ นกปากห่างมีลำตัวยาว 32 นิ้ว ชอบอยู่เป็นฝูง
ทำรังบนต้นไม้ ทำรังด้วยเรียวไม้แบบนกยางหรือรังกา ออกไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ตัวผู้และตัวเมียจะผลัดกันกกไข่ ในการผสมพันธุ์ เวลาตัวผู้ขึ้นทับตัวเมียนั้น นกตัวผู้จะใช้เท้าจับขอบปีกหน้าของตัวเมียไว้แน่น ทั้งสองตัวจะกระพือปีกช่วยการทรงตัว ตัวผู้จะแกว่งปากของมันให้กระทบกับปากของตัวเมียอยู่ตลอดเวลาที่ทำการทับ ลูกนกเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ จะไม่มีขน หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีขนปุยขาว ๆ คลุม อีกราวเกือบ 2 เดือนก็มีปีกหางแข็งแรงแล้วก็เริ่มหัด

นกเป็ดน้ำ



นกเป็ดน้ำ




ลักษณะทั่วไปของนกในวงศ์นี้ คือ เป็นนกน้ำลำตัวป้อม มีลักษณะเด่นคือ ปากแบนใหญ่ หางสั้น มีแผ่นพังผืดยึดนิ้วเท้า จึงช่วยให้ว่ายน้ำได้ดี มีลำคอเรียวยาว เมื่อเวลาว่ายน้ำจะโค้งเป็นรูปตัวเอส ขนเคลือบด้วยไขมันกันน้ำได้เป็นอย่างดี โดยน้ำไม่สามารถเข้าไปในชั้นขนได้ ตัวเมียมีลายสีน้ำตาลไม่ค่อยสวยงาม ต่างจากตัวผู้ที่มีสีสดใสกว่าชอบลอยตัวรวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำ ทั้งในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำกร่อย หาอาหารโดยใช้ปากไชจิกพืชน้ำ จับกินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามผิวน้ำ หรืออาจจะดำลงไปจับใต้น้ำ ส่วนใหญ่ทำรังตามริมน้ำด้วยพืชน้ำ บางชนิดทำรังในโพรงไม้หรือซอกกำแพง และมีพฤติกรรมจับคู่อยู่เพียงตัวเดียวไปตลอด จะเปลี่ยนคู่ก็ต่อเมื่อคู่นั้นได้ตายลง
มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถบินได้ และบินได้ในระยะไกล ๆ หลายชนิดเป็นนกอพยพที่จะอพยพกันเป็นฝูงตามฤดูกาล โดยมากจะเป็นไปในฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลง มักจะบินอพยพจากซีกโลกทางเหนือลงสู่ซีกโลกทางใต้ ซึ่งอุณหภูมิอุ่นกว่า จากนั้นเมื่อถึงฤดูร้อนก็จะอพยพกลับไป และแพร่พันธุ์วางไข่

นกคุ้ม



นกคุ้ม




วงศ์นกคุ่มอืด หรือ วงศ์นกคุ่ม  เป็นวงศ์นกในอันดับนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Turnicidae จัดเป็นนกขนาดย่อม มีลักษณะคล้ายกับนกกระทาที่อยู่ในวงศ์ Phasianidae หรือวงศ์ไก่ แต่ทว่าแตกต่างกันที่ นกคุ่มอืดนั้นจะมีนิ้วเท้า 3 นิ้ว และไม่มีเดือยที่ข้อเท้า มีลักษณะโดยรวม คือ
มีขนาดย่อม ปีกมีขนาดเล็ก ไม่สามารถบินได้ นอกจากในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นไปบนต้นไม้
จึงหากินบนพื้นดินเช่นเดียวกันเป็นหลัก สีขนตามลำตัวมีลายประสีต่าง ๆ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ตัวเมียมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้ มีสีสดใสกว่า และเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสี ขณะที่ตัวผู้จะทำหน้าที่กกไข่และเลี้ยงดูลูก ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 12-13 วัน ลูกอ่อนใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถอกนอกรังได้มี 16 ชนิดทั่วโลก พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย
, แอฟริกา
และออสเตรเลีย แบ่งออกเป็น 2 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ นกคุ่มอืดเล็ก (
Turnix sylvatica), นกคุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และนกคุ่มอกลาย (T. suscitator)

นกนางแอ่น



นกนางแอ่น




นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่น[1] หรือ จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก จัดเป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Hirundinidae นกนางแอ่น หรือนกอีแอ่น ผสมพันธุ์ปีละ 3 ครั้งในกลางเดือนมกราคม, ต้นเดือนพฤษภาคม, กลางเดือนสิงหาคม เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะรีบทำรังทันที ออกไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง กกไข่และเลี้ยงลูกจนรอดชีวิตในระยะเวลา 3 เดือน จากนั้นก็
จะบินออกจากรังไปหาอาหารตั้งแต่ตีห้าไปจนพลบค่ำ พ่อและแม่นกสร้างรังด้วยน้ำลายเป็นสีขาวลักษณะเหมือนถ้วย นำหนักรังเฉลี่ย 8 กรัม ใช้เวลาสร้าง 30-45 วัน หลังสร้างรังเสร็จ จะผสมพันธุ์ในเวลากลางคืน หลังจากนั้น 5 วันจะเริ่มวางไข่ใบแรกและวันที่ 8 จะวางไข่ใบที่ 2 (ครั้งละ 2 ฟอง) น้ำหนัก 1.2 กรัม ไข่จะฟักในเวลา 21-29 วัน 1 สัปดาห์หลังจากการฟัก ขนจะเริ่มขึ้น และอายุ
2 สัปดาห์จะเริ่มเกาะรัง พ่อและแม่นกจะหาอาหารมาให้ จนลูกนกมีขนขึ้นเต็มเมื่ออายุ 45 วัน (อัตราการรอดของนกที่อาศัยตามถ้ำธรรมชาติ 20 % แต่อัตราการรอดของนกที่อาศัยตามบ้านนกหรือคอนโดนกมีถึง 64.4 % ) พร้อมเริ่มผสมพันธุ์ เมื่ออายุ 8 เดือนผสมพันธุ์ปีละประมาณ 3 ครั้ง มีชีวิตได้ถึง 12-15 ปี ถ้ามีการเก็บรังก่อนที่จะวางไข่ พ่อและแม่นกจะสร้างรังขึ้นใหม่และเลื่อนการวางไข่ออกไป (ใน 1 ปีจะได้รัง 2-3 รัง ต่อ 1 คู่)

นกกวัก



นกกวัก




นกกวัก Amaurornis phoenicurus ( White-breasted Waterhen) เป็นนกที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ เมื่อได้พบเพียงครั้งเดียวก็จำได้ และไม่มีทางสับสนกับนกชนิดอื่น นกชนิดนี้มีบริเวณตั้งแต่หลังหน้าผาก ไล่ไปจนถึงหลัง ปีก และหางเป็นสีดำออกเทา อมแดงนิดๆ หน้าผาก หน้า คอ อก ท้อง เป็นสีขาวสะอาด ขนคลุมโคนหางเป็นสีน้ำตาลแกมแดง ตาสีแดง โคนปากมีสีแดงสด ปากตรงสีเหลืองอมเขียว ขาและเท้าสีเหลืองอมเขียว นิ้วยาวมาก มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 28.5-36 เซนติเมตร ทั้ง 2 เพศคล้ายคลึงกัน

นกกาเหว่า



นกกาเหว่า




นกกาเหว่าเป็นนกวงศ์คัคคูขนาดใหญ่ ยาว 39-46 เซนติเมตร รวมหางยาว หนัก 190-327 กรัมตัวผู้พันธุ์ต้นแบบมีสีดำแกมน้ำเงินเป็นเงา มีปากเทาเขียว ๆ สีจาง ม่านตาเป็นสีแดงเข้ม มีขาและเท้าสีเทา ส่วนตัวเมียพันธุ์ต้นแบบมีสีออกน้ำตาลที่ยอดหัว มีลายออกแดง ๆ ที่หัว ส่วนหลัง ตะโพก และปีก เป็นสีน้ำตาลมีจุดขาว ๆ หรือเหลือง ๆ ที่ท้องมีสีขาว มีลวดลายมาก ส่วนสปีชีส์ย่อยอื่น ๆ ต่างกันไปโดยสีและขนาดขนลูกนกด้านบนออกเหมือนตัวผู้และมีปากดำ[13] นกจะร้องเก่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (มีนาคมถึงสิงหาคมในเอเชียใต้) มีเสียงร้องต่าง ๆ เสียงที่คุ้นเคยของตัวผู้ก็คือ "กา-เหว่า" ส่วนตัวเมียร้องเสียงสูงออกเป็น "คิก-คิก-คิก..." แต่ว่าเสียงร้องต่างกันในที่ต่าง ๆ
นกมีรูปแบบการสลัดขนไม่เหมือนกับนกคัคคูปรสิตประเภทอื่น ๆ คือสลัดขนบินหลักแบบสลับ และสลัดขนหลักด้านในตามลำดับ บางครั้งจะเข้าใจผิดกันว่า นกกาเหว่ามีอยู่ 2 ชนิด คือ นกกาเหว่าดำ และนกกาเหว่าลาย ทั้งนี้เพราะตัวผู้มีสีดำ และตัวเมียมีสีน้ำตาลลาย ๆ แถมยังมีเสียงร้องแตกต่างกันด้วย แต่ความจริงเป็นตัวผู้ตัวเมียที่ต่างกัน

นกรุ้ง



นกรุ้ง





เหยี่ยวรุ้ง หรือ อีรุ้ง เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางจำพวกเหยี่ยวที่พบได้ในป่าในทวีปเอเชียเขตร้อน 
มีการกระจายพันธุ์กว้าง ด้วยความที่นกในสกุลนี้กินอาหารหลัก คือ งู จึงได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "Serpent-eagle" (เหยี่ยวงู หรือ อินทรีงู) เหยี่ยวรุ้งเป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวประมาณ 51-71 เซนติเมตร มีแผ่นหนังสีเหลืองสดใสบริเวณโคนปากไปจนถึงดวงตา
ขนบริเวณท้ายทอยค่อนข้างยาวคล้ายมีขนหงอนที่หัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดเป็นสีดำลายซีดสีขาว
ที่เมื่อเวลาโกรธหรือขู่คู่ต่อสู้ให้กลัวจะแผ่ออก[3] ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยเฉพาะที่ปีกจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำตาลและมีลายจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ตัวที่โตเต็มวัยขณะบินจะเห็นแถบกว้างสีขาวที่หาง และใต้ปีกชัดเจน


นกเหยี่ยว



นกเหยี่ยว




เหยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวคือ นกในอยู่ในสกุล Falcoจัดอยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อที่อยู่ในอันดับ Falconiformes และวงศ์ Falconidae เหยี่ยวมีลักษณะคล้ายกับอินทรี ซึ่งเป็นนกล่าเหยื่อเช่นเดียวกัน แต่เหยี่ยวมีขนาดเล็กกว่า คือมีจะงอยปากที่งองุ้ม มีกรงเล็บที่แหลมคมและแข็งแรง บินได้อย่างรวดเร็ว กางปีกได้กว้างและยาว สามารถบินหรือเหินได้สูง และมีสายตาที่ดีมาก อาหารโดยทั่วไปของเหยี่ยว คือ สัตว์ขนาดเล็กกว่าต่าง ๆ เช่น สัตว์ฟันแทะ, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่าง ๆ, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์น้ำ เช่น ปลา หรือกุ้ง หรือแม้แต่สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เช่น กวาง เป็นต้นนอกจากสกุล Falcon แล้ว ยังมีนกในสกุลอื่น แต่อยู่ในวงศ์เดียวกันที่เรียกว่าเหยี่ยวได้ เช่น Haliastur, Elanus, Haliaeetus และMicrohierax (ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเป็นอินทรี) เป็นต้น เหยี่ยวที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ เหยี่ยวแดง (Haliastur indus), นกออก (Haliaeetus leucogaster), เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela) เป็นต้น และยังมีอีกชนิดหนึ่ง คือ เหยี่ยวออสเปร (Pandion haliaetus) ซึ่งเป็นนกที่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง มีวงศ์และสกุลของตัวเองต่างหาก จากความที่เป็นนกล่าเหยื่อ และมีขนาดลำตัวที่ไม่ใหญ่นัก เหยี่ยวจึงถูกมนุษย์ใช้เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมาแล้วนานกว่า 2,000 ปี[7] เพื่อใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ล่าสัตว์, เพื่อความเพลิดเพลิน หรือแม้แต่ใช้ในการไล่นกชนิดอื่น ๆ ในสนามบินหรือชุมชนเมืองบางแห่ง

นกกา



นกกา




นกกา หรือ อีกา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก เป็นนกชนิดหนึ่งอยู่ในสกุล Corvus ในวงศ์นกกา (Corvidae) พบกระจายพันธุ์ทั่วโลก ยกเว้นในทวีปอเมริกาใต้ มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีสีขนสีดำสนิทเป็นเงามันเลื่อม อยู่รวมกันเป็นกลุ่มและออกหากินเวลากลางวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่แดดแรง กาจะหาอาหารโดยการซ่อนตัวในเงาของต้นไม้ สำหรับการจู่โจมเหยื่อ นกกามีลักษณะเหมือนนกอีกประเภทหนึ่งชื่อ นกเรเวน ซึ่งเป็นนกที่มีสีดำเหมือนกันนอกจากนี้แล้ว นกกายังถือว่าเป็นนกที่มีอายุขัยเฉลี่ยสูงถึง 90 ปี ซึ่งนับว่าสูงกว่าสัตว์ใหญ่อย่างช้างเสียอีก

นกกระจิบ



นกกระจิบ




นกกระจิบ อยู่ในสกุล Orthotomus เป็นนกขนาดเล็ก จากปลายปากถึงปลายหางรวมกันแล้วยาวเพียง 12 เซนติเมตร ปากเล็กบาง ขายาวเรียวเล็ก ชอบกระดกหางขึ้นลงและกระโดไปมาตลอดเวลา หากินตามกิ่งไม้ อยู่เป็นคู่ ทำรังอยู่ด้วยกัน วางไข่คราวละ 3-5 ฟอง ไข่สีเขียว สีฟ้าหรือสีชมพู มีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ทั่วไป ใช้เวลากกไข่ประมาณ 12 วันก็จะฟักออกเป็นตัว

นกหัวขวาน



นกหัวขวาน




  นกหัวขวาน เป็นนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Picidae เป็นนกที่มีสามารถไต่ขึ้นลงตามต้นไม้ได้ดีเป็นแนวตั้ง ด้วยขาที่สั้น และเล็บที่แหลมคม ส่วนใหญ่มีนิ้วหน้า
2 นิ้ว นิ้วหลัง 2 นิ้ว  เล็บมีความคมและแข็งแรง หางมักจะแข็งมากและเป็นรูปลิ่ม ใช้ช่วยยันต้นไม้ขณะไต่ขึ้นลงตามลำต้น นกหัวขวานเป็นนกประเภทอยู่รู หรืออยู่อาศัยตามโพรงไม้ ตามปกติแล้วมักจะเลือกสถานที่ทำรังโดยใช้จะงอยปากที่แข็งแรงเจาะต้นไม้จนเป็นโพรงใหญ่ ขนาดที่ตัวของนกเองจะเข้าออกได้อย่างสะดวก นกหัวขวานเป็นนกที่ปกติจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนนกอื่น ๆ ถ้าหากมีนกอื่นรุกล้ำเข้ามา จะส่งเสียงร้อง "แก๊ก ๆ ๆ" ดังกังวาลเพื่อเตือน อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็มีส่วนช่วยเลือกสถานที่ทำรังเหล่านี้ด้วย ส่วนมากมักชอบไม้เนื้ออ่อน ซึ่งในฤดูแล้ง ต้นไม้เหล่านี้จะทิ้งใบ แต่บางครั้งจะทำรังตามต้นไม้แห้ง ๆ หรือต้นมะพร้าวหรือ
ต้นปาล์ม จุดเด่นของนกหัวขวานก็คือ สามารถใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและแข็งแรงเหมือนลิ่ม เจาะลำต้นของต้นไม้ใหญ่ประเภทไม้ยืนต้นจนเป็นรูหรือเป็นโพรงได้เป็นอย่างดี ขณะที่เจาะต้นไม้อยู่นั้นจะได้ยินเสียงกังวาลไปไกลเป็นเสียง "ป๊อก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" เพื่อที่จะหาหนอนและแมลงที่ซ่อนอยู่ใต้เปลือกไม้และเนื้อไม้กินเป็นอาหาร ด้วยการใช้ลิ้นและน้ำลายที่เหนียวดึงออกมา ลิ้นของนกหัวขวานเมื่อยืดออกจะยาวมาก โดยลิ้นนี้จะถูกเก็บไว้โดยการพันอ้อมกะโหลก แล้วเก็บปลายลิ้นไว้ที่โพรงจมูกด้านในซึ่งการกระทำเช่นนี้นับว่าเป็นผลดีต่อต้นไม้ที่ช่วยกำจัดหนอนแมลงที่รบกวนได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จนได้รับฉายาว่า "หมอรักษาต้นไม้"

นกต้อยตีวิด



นกต้อยตีวิด




นกต้อยตีวิด หรือ นกกระต้อยตีวิด หรือ นกกระแตแต้แว้ด หรือ นกแต้แว้ด เป็นนกที่สีสวยน่าดู พบได้ตามพื้นที่โล่งเกือบทุกสภาพทั่วประเทศ อยู่ในวงศ์นกหัวโต (Charadriidae)
วงศ์ย่อย
Vanellinae หรือ Charadriinae มีเสียงร้องเตือนภัยแหลมดังที่ไม่เหมือนใครว่า "แตแต้แวด"
 หรือตามคนพูดภาษาอังกฤษว่า
did he do it หรือ pity to do it  ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามเสียงร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ เป็นนกที่มักจะเห็นเป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ แต่อาจจะอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในฤดูหนาวที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก

นกกรงหัวจุก



นกกรงหัวจุก




นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซีย พบได้
ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ  นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้
ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

นกขมิ้น



นกขมิ้น



นกขมิ้น เป็นวงศ์ของนกที่มีสายวิวัฒนาการอยู่ระหว่างวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae)
และวงศ์นกกา (
Corvidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Oriolidae แต่มีรูปร่างลักษณะและอุปนิสัย แตกต่างจากนกทั้งสองวงศ์นี้มาก คือ นกกาและนกแซงแซวส่วนใหญ่จะมีลำตัวเพรียว หางยาว หรือค่อนข้างยาว
นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นซึ่งเป็นนกที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดเล็ก มีความยาวตัวประมาณ 20-27 เซนติเมตร ขนาดเท่านกเอื้ยง หางสั้น สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง มีบางชนิดเป็นสีอื่นบ้าง จะงอยปากแข็งแรงและงุ้มลง ปีกยาวแหลม นกตัวผู้มีสีสดใสสวยงามกว่านกตัวเมีย ลูกนกมีลายขีดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณท้อง นกขมิ้นเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่าบก ป่าชายเลน และตามสวนผลไม้ ส่วนใหญ่หากินอยู่ตามเรือนยอดหรือพุ่มใบของต้นไม้ รวมอยู่ กับนกชนิดอื่น ๆ เช่น นกแซงแซว
, นกพญาไฟ และนกไต่ไม้ พบหากินเงียบ ๆ อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นล่าง กินผลไม้, แมลง และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร บินได้เร็วและทนนาน ชอบทำรังอยู่ตาม ง่ามไม้บนต้นไม้สูง รังอยู่สูงประมาณ 4-10 เมตร สร้างรังเป็นรูปถ้วย ก้นลึก
ทำด้วยต้นหญ้าหรือเส้นใยพืชร้อยถักอย่างประณีต วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก นกขมิ้นชอบสร้างรังใกล้ ๆ รังของนกแซงแซวเพื่อให้นกแซงแซวช่วยป้องกันไข่และลูกนกจากศัตรู เนื่องจากนกแซงแซวจะป้องกันไข่และลูกนกของตัวเองจากศัตรู ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไข่ และลูกนกขมิ้นด้วย 

นกเอี้ยง



นกเอี้ยง



  นกเอี้ยง เป็นสกุลของนกเกาะคอนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Acridotheres ในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและผลไม้เป็นอาหาร รวมถึงน้ำหวานในดอกไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ จากภาคตะวันออกของอิหร่านถึงภาคใต้ของจีน และอินโดนีเซีย นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง บางชนิดถูกนำเข้าและแพร่ขยายพันธุ์ในซีกโลกใหม่เช่น บริติชโคลัมเบีย, แวนคูเวอร์ หรือนิวซีแลนด์

นกเขา



นกเขา



นกเขา จัดอยู่ในวงศ์ Columbidae นกเขาที่พบในประเทศไทยมีนกเขาพม่า นกเขาไฟ นกเขาเขียว นกเขาเปล้า นกเขาหม้อ นกเขาตู้ นกเขาป่า นกเขาแขก หรือนกเขาเทศ นกเขานา นกเขาฟ้า นกเขาใหญ่หรือนกเขาหลวง และนกเขาชวาหรือนกเขาเล็ก ในบรรดานกเขาเหล่านี้บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น เพราะกล่าวกันว่าการเลี้ยงนกที่ดีจะทำให้บังเกิดความสุข บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ฟังเสียง และบางชนิดนิยมเลี้ยงไว้เป็นอาหาร หรือนำไปขายซึ่งบางตัวราคาเป็นแสนเป็นล้าน ถ้าลักษณะ
ของนกตัวนั้นมีลักษณะดีตามตำราหรือกำลังได้รับความนิยม สำหรับนกเขาที่คนนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นและฟังเสียงได้แก่ นกเขาใหญ่ นกเขาชวา และนกเขาไฟ โดยนกเขาไฟมีข้อพิเศษอยู่ตรงที่ชาวต่างจังหวัดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น ส่วนชาวกรุงเทพฯ นิยมเลี้ยงไว้เป็นอาหารมากกว่าจะเลี้ยงไว้ดูเล่น

นกยาง



นกยาง



นกยาง หรือ นกกระยาง  เป็นนกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกกระสา (Ciconiiformes)
ใช้ชื่อวงศ์ว่า
Ardeidaeมีลักษณะโดยรวม คือ เป็นนกน้ำขนาดใหญ่มีคอและขายาว มักพบ
เดินท่องน้ำหากินหรือยืนนิ่งบนกอหญ้าหรือพืชน้ำ คอยใช้ปากแหลมยาวจับสัตว์น้ำเล็ก ๆ
หรือแมลง ขณะบินจะพับหัวและคอแนบลำตัว เหยียดขาไปข้างหลัง ทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ ใช้กิ่งไม้สานกันอย่างหยาบ ๆ พบทั้งหมด 61 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 20 ชนิด 

นกแก้ว



นกแก้ว


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Psittacus torquata แยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่า 500 ชนิด
มีพื้นเพที่อยู่อาศัยตั้งเดิมอยู่ในป่าทึบ   ในเขตร้อนของประเทศ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย
หมู่เกาะมลายู แอฟริกา ทางใต้ของทิศ เหนือของอเมริกา อินเดีย นอกจากนี้แล้วยัง พบทางแถบตะวันตกของอินเดียโดยทั่วไป นกในตระกูลนกแก้วนั้น มักมีความแตกต่างไปจากนกตระกูลอื่น
อยู่อย่างหนึ่ง คือ จะงอยปากตอนบนของนกแก้วสามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่รวมกับหน้าผาก (ขากรรไกร) และมี ลักษณะเด่นได้แก่ ปากคมแข็ง จะงอยปากงุ้มเข้าโคนใหญ่ปลายแหลมน่ากลัว
เท้ามีนิ้วข้าง หลังสองนิ้ว และข้างหน้าสองนิ้วทุกนิ้วมีเล็บที่แหลมคม สามารถใช้เท้าจับกิ่งไม้ได้เหนียว แน่น ปีนป่ายคันไม้ได้เก่งเป็น พิเศษ และในบางโอกาสยังสามารถจับฉีกอาหารได้ด้วยปาก
ส่วนใหญ่เป็นสีแดง ขนเป็นสีเขียว สามารถนำ มาฝึกสอนให้พูด

นกขุนทอง



นกขุนทอง



นกขุนทอง หรือ นกเอี้ยงคำ เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วไปในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีความสามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกแก้ว จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกันสูง นกขุนทองมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 29 เซนติเมตร ลำตัวป้อมสีดำ หางสั้น ปีกแหลมยาว เท้าแข็งแรง มีเหนียง คือ แผ่นหนังสีเหลืองอมส้มคลุมทั่วท้ายทอยและเหนียงสีเหลืองแดงสดใต้ตา
ขนสีดำเหลือบเขียว มีเงาสีม่วงบริเวณหัวและคอ มีสีขาวแซมใต้ปีก ปากสีแดงส้ม ขาสีเหลืองสด ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน

นกเงือก



นกเงือก



นกเงือก เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ พบทั่วโลกมี 55 ชนิด ใน 14 สกุล มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้างและยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด
และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ