วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

นกเงือก

นกเงือก



















นกเงือก (อังกฤษ: Hornbill) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวมนกเงือกดินเข้าไปด้วย[1][2]) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว[3]

นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ[3] ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา[4]

และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ[5]

พบทั่วโลกมี 55 ชนิด[6]ใน 14 สกุล (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของทวีปแอฟริกา และเอเชีย

นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก

นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง[7] และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้งเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ

นกกรงหัวจุก

       นกกรงหัวจุก

               

                                       

                                                  

"นกกรงหัวจุก"
ชื่ออื่นๆ นกกรงหัวจุก (ใต้) นกปรอดหัวโขนเคราแดง นกปรอดหัวจุก นกปรอดหัวโขน (กลาง) นกพิชหลิว นกปริ๊จจะหลิว( เหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Pycnonotus jocosus สกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวน เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด นกมีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียในกลุ่มประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง
ลักษณะทั่วไป มีขนาดยาวประมาณ ๒๐ ซ.ม มีปากเรียวแหลม ปลายปากโค้งเล็กน้อย และมีขนสั้นแข็งบริเวณโคนปาก คอสั้น ลำตัวเพรียว ปีกสั้น หางยาว โดยนกปรอดหัวโขนมีขนหงอนยาวสีดำตั้งชันขึ้นมาบนหน้าผากเป็นลักษณะเด่น มองดูคล้ายกับคนที่สวมหัวโขนหรือชฎาที่มียอดแหลมขึ้นมา ลักษณะพิเศษของนกปรอดหัวโขนจะมีปากดำ กระหม่อมดำเช่นเดียวกับหงอน แก้มสีขาวและมีเส้นสีดำลากจากโคนปาก ลงมาต่อกับแถบสีดำข้างคอ ใต้ตามีแต้มสี
นกกรงหัวจุกตัวผู้
หัวใหญ่ หน้าใหญ่ ขนคอขาวฟู ฐานจุกใหญ่ ปลายจุกโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย ดวงตาสดใส หมึกดำจะยาวกว่าตัวเมีย บางตัวปลายหมึกเกือบชิดกัน บัวแดงใหญ่ สีสดชัดเจน ข้อสังเกตุคือ ขนหัวปีกทั้งสองข้างมีสีแดงนิดหน่อยซึ่งตัวเมียไม่มี บริเวณขนหน้าอกหน้าท้องถ้าใช้ลมปากเป่าเบา ๆ จะเห็นขนอ่อนคลุมทั่วไป แต่ตัวเมียไม่ค่อยมี นกเก่งตอนยืนร้องจะเหยียดขาจนสุดข้อเท้า ปลายหางสอดใต้คอน ลีลาท่าเต้นงดงาม ร้องเป็นเพลงยาว ๆ มีจังหวะที่ดี 5-7คำ
นกกรงหัวจุกตัวเมีย หัวเล็ก หน้าเล็ก ขนคอเรียบ ๆ ฐานจุกเล็ก ปลายจุกโค้งไปด้านหลังหรือชี้ตรง หมึกดำมีไม่มาก บัวแดงเล็ก เรียบ ลีลาร้องไม่คึกคัก เพลงไม่ยาว มักร้อง 1 - 3 คำ ( ส่วนมาก คำ )
นกปรอดหัวโขนที่ยังโตไม่เต็มวัยตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันบริเวณหน้าผากและหงอนมีสีน้ำตาลอมดำ แต้มสีแดงใต้ตายังไม่ปรากฏ เห็นเพียงแก้มสีขาวใต้โคนหางก็เป็นสีชมพูจางๆ หรือสีส้มอ่อน ๆ ยังไม่แดงเข้มเท่ากับพ่อแม่ สำหรับแต้มสีแดงใต้ตาเป็นลักษณะเด่นของนกปรอดหัวโขนดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่าง สีขาว โคนหางด้านล่างสีแดง ปลายขอบหางสีขาว ขาสีดำ